วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

จำเป็นด้วยหรือใน การเปิด ระบบทวนสัญญาณ ด้วยกำลังส่งสูง

จำเป็นด้วยหรือในการเปิด ระบบทวนสัญญาณ ด้วยกำลังส่งสูง
สวัสดีครับ สำหรับครั้งนี้ผู้เขียนขอเปิดประเด็นเกี่ยวกับการใช้งานในระบบทวนสัญญาณ (รีพีทเตอร์) ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วทางผู้เขียนเองได้มีโอกาสเดินทางอยู่บ่อยครั้ง ก็ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนนักวิทยุสมัครในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งทางช่องความถี่ตรง และระบบทวนสัญญาณ (รีพิทเตอร์) สำหรับการใช้งานในระบบทวนสัญญาณ (รีพีทเตอร์) ปัญหาที่ได้รับการพูดคุยกันอย่างมากมายก็คือ ช่องความถี่โดนรบกวนอาจจะเกิดจาก คลื่นประจุไฟฟ้า สภาพอากาศ การเลือกใช้ช่องความถี่ในระบบทวนสัญญาณที่ใกล้เคียงกัน หรือ การใช้ช่องความถี่เดียวกันในพื้นที่จังหวัดข้างเคียง จึงทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้นในความถี่ และเท่าที่ทราบการติดตั้งระบบทวนสัญญาณในพื้นที่ต่าง ๆ ก็มักจะนำอุปกรณ์ไปติดตั้งในพื้นที่สูง ๆ อย่างเช่น ยอดภูเขา หรือ อาคารที่มีความสูงหลาย ๆ ชั้น ในเมื่อตัวระบบทวนสัญญาณ ถูกนำไปติดตั้งในพื้นที่สูงแล้ว ก็ทำให้การรับส่งของสัญญาณคลื่นวิทยุสื่อสารมีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขึ้น ผู้เขียนเองก็ได้เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การเลือกใช้ช่องความถี่ที่มีความถี่ห่างกันสำหรับในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน หรือการจัดหาตัวกรองสัญญาณเพื่อมาลดสัญญาณรบกวนจากคลื่นประจุไฟฟ้า แต่อีกประเด็นหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญและยากที่จะแก้ไขปัญหา ก็คือ “ การออกอากาศด้วยกำลังที่สูงในการเปิดระบบทวนสัญญาณ ” ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทวีคูณเพิ่มมากขึ้นเมื่อในพื้นที่ใกล้เคียงใช้ช่องความถี่เดียวกัน เพราะการออกอากาศด้วยกำลังส่งสูง หรือการออกอากาศด้วยสถานีประจำที่ (บ้าน) ในแต่ละครั้งก็จะทำให้สัญญาณที่ออกอากาศไปเปิดระบบทวนสัญญาณของอีกจังหวัดหนึ่ง และเพื่อเป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้น ในการใช้ความถี่ ระบบทวนสัญญาณ ดังนั้นเราควรที่จะออกอากาศด้วยเครื่องแอนดี้ด้วยกำลังส่งที่ต่ำ หรือถ้าจำเป็นต้องออกอากาศด้วยสถานีที่บ้าน ก็ควรลดกำลังส่ง และลองตรวจสอบดูว่าสัญญาณที่เราออกอากาศไปนั้น เป็นสัญญาณที่ไปรบกวนระบบทวนสัญญาณ ของคู่อื่น ๆ ดัวยหรือเปล่า โดยส่วนตัวของผู้เขียนเองคิดว่า ทุกปัญหามีทางแก้ไข ดังนั้นเราควรหันหน้าเขาหากัน ลองเปิดใจรับฟังปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และลองพิจารณาดูตัวเราเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีส่วนก็ลองปรับตัวเองดู เพื่อเป็นการลดปัญหาที่เกิดขึ้น ดังคำหนึ่งที่ได้กล่าวไว้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น คือ “ ตราบใดที่สัญญาณไปถึง คุณคือเพื่อน ” / HS 8 JNF

2 ความคิดเห็น:

HS8JNF & HS8PQT & E24BPB กล่าวว่า...

จากการพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับ HS8RJC เกี่ยวกับการใช้ความถี่ในระบบทวนสัญญาณ HS8RJC ก็ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ความถี่ในระบบทวนสัญญาณ ไว้ว่า การใช้ความถี่และการส่งสัญญาณในความถี่ ตามที่ กทช. กำหนด แต่ด้วยขณะนี้เพื่อนสมาชิก AR มีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้ช่องความถี่ไม่เพียงพอต่อจำนวนสมาชิก AR ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (การใช้งานช่องความถี่เดียวกันในหลายพื้นที่) ด้วยเหตุนี้ จึงมีระบบทวนสัญญาณเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นช่วยในการ รับ-ส่ง สัญญาณได้ในระยะไกลขึ้น เพื่อนสมาชิก ลองนึกดูว่า ขณะนี้ สัญญาณที่เราใช้อยู่ในช่องความถี่ 145.500 MHz. ขึ้นไป จะมีการใช้งานที่ซ้ำกันในหลายพื้นที่ จึงทำให้สัญญาณที่ส่งไปกดทับกันบ้าง หรือบางครั้งสัญญาณที่ถูกส่งออกด้วยเครื่องที่มีกำลังส่งสูงอาจจะทะลุไปยัง ช่องความถี่ใกล้เคียงกัน ด้วยเหตุนี้ ทาง HS8RJC ก็ลองสรุปประเด็นต่าง ๆ ได่แก่
1 ช่องความถี่ไม่เพียงพอ
2 การใช้กำลังส่งของเครื่องเกินกว่าที่กำหนด
3 ความสูงของสายอากาศ
4 ความเหมาะสมของกำลังส่งของตัวทวนสัญญาณ
5 อุปกรณ์เสริมที่ทำให้กำลังส่งมากขึ้น ควรใช้หรือไม่
ซึ่งทาง HS8RJC กล่าวว่าทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นข้อคิดเห็นเพื่อให้เพื่อน ๆ AR เสนอความคิดเห็นว่าควรจะปรับปรุงอย่างไร เพื่อใม่ให้สัญญาณในความถี่กดทับ หรือทะลุไปยังอีกช่องความถี่ ทาง HS8RJC คิดว่า ด้วยจิตสำนึกของนักวิทยุสมัครเล่น เราน่าจะร่วมกันปฏิบัติ ตามกฏหรือระเบียบที่ได้กำหนดไว้ ทาง HS8RJC มองว่าถ้าเราไม่ร่วมกันแก้ปัญหานี้ การใช้ความถี่ก็อย่างจะเกิดความขัดแย้ง กันได้ และอีกอย่างที่เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาก็คือ ทาง กทช.กำหนดให้ขยายช่องความถี่ เพิ่มมากขึ้น จากข้อความทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นความรู้สึกส่วนหนึ่งในการใช้งานช่องความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่น ของ HS8RJC สมาชิกกลุ่ม VR รักษ์เขาศูนย์

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น้าบาวเหอ ทที่นอคอน มาตีทางพังงา กระจุยเลย สาว่ามันสูงแรง เท่นเน่สงไปไม่ถึง แต่รับได้ สัญญานกวนกัน ถ้าอิลดกำลังส่งสักหีด เพื่อใช้เฉพาะใน นอคอน พออิลดให้หน่อยได้ไหม จาก HS8CIL พังงา น้าหลวงเหอ